ประวัติความเป็นมา
ตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 1 ได้ทรงสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2358 เมื่อสร้างเสร็จได้อพยพชาวมอญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสัมภาร แต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เข้ามาอยู่ในเมืองนี้ ซึ่งชาวมอญเหล่านี้ นอกจากที่อยู่ในเมืองนครเขื่อนขันธ์แล้ว ยังมีอยู่ที่เมืองนนท์บ้าง เมืองสามโคก ประทุมธานีบ้าง ซึ่งมอญพวกนี้เรียกว่า “มอญเก่า” ซึ่งมอญที่มีอยู่ในเมืองนครเขื่อนขันธ์นี้มีบุคคลสำคัญ คือ พญาเจ่ง ซึ่งเคยเป็นเจ้าเมืองมอญ ได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่ทัพ ต่อมาเป็นบุตรของพญาได้รับการแต่ตั้งให้เป็นเจ้าเมือง นครเขื่อนขันธ์ด้วย ส่วนชาวมอญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในรัชกาลของพระองค์ ส่วนใหญ่เป็นนายทหาร เรียกว่า “มอญใหม่” ต้นตระกูลชาวมอญที่สำคัญคือ “คชเสนี” ซึ่งได้เป็นเจ้าเมืองสืบต่อกันมาถึง 8 ชั่วคน
ประเพณีต่างๆของชาวรามัญ
เปิงสงกรานต์
เปิงสงกรานต์ เป็นประเพณีสงกรานต์ ของชาวไทยรามัญ (มอญ) มีการทำข้าวแช่โดยนำข้าวสุกแช่ลงในน้ำเย็นลอยดอกมะลิ พร้อมกับจัดอาหารคาว หวานจัดเป็นสำรับแล้วนำออกขบวนแห่ไปถวายพระและญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในวันสงกรานต์ พอตอนบ่ายก็จะมีการก่อพระทรายและร่วมปล่อยนกปล่อยปลา นำน้ำหอมไปสรงน้ำพระ ขอพรจากพระและยกขบวนไปรดน้ำอวยพรผู้ใหญ่ ตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ได้ยึดถือกระทำกันมาก
เปิงสงกรานต์ เป็นประเพณีสงกรานต์ ของชาวไทยรามัญ (มอญ) มีการทำข้าวแช่โดยนำข้าวสุกแช่ลงในน้ำเย็นลอยดอกมะลิ พร้อมกับจัดอาหารคาว หวานจัดเป็นสำรับแล้วนำออกขบวนแห่ไปถวายพระและญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในวันสงกรานต์ พอตอนบ่ายก็จะมีการก่อพระทรายและร่วมปล่อยนกปล่อยปลา นำน้ำหอมไปสรงน้ำพระ ขอพรจากพระและยกขบวนไปรดน้ำอวยพรผู้ใหญ่ ตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ได้ยึดถือกระทำกันมาก
การเล่นสะบ้า
การเล่นสะบ้า เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวมอญจัดขึ้นในวันสงกรานต์ หนุ่มสาวชาวบ้านพบปะสมาคมกันอย่างใกล้ชิดพวกผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายจะเปิดโอกาสให้ลูกหลานของตนแต่งกายให้สวยงามเป็นพิเศษ มาชุมนุมเล่นทอยลูกสะบ้ากัน สำหรับลูกสะบ้านั้นทำจากแก่นไม้ประดู่หรือไม้มะค่ามีลักษณะเป็นรูปจานทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔-๕ นิ้ว การทอยลูกสะบ้า ผู้เล่นจะทอยไปยังหลักซึ่งอยู่ห่างจากที่ทอยประมาณ ๑๓ วา ให้ล้มลมอญรำ
มอญรำ เป็นประเพณีของชาวรามัญโบราณตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการใช้ปี่พาทย์มอญเล่นประกอบการรำและการร้อง ใช้หญิงสาวจำนวน ๘-๑๒ คนขึ้นไปรำในงานพิธีมงคลโดยจะแต่งกายชุดของชาวมอญห่มสไบเฉียงเสื้อแขนยาวทรงกระบอกคอกลมเกล้าผมมวยรัดด้วยดอกมะลิทัดดอกไม้สดข้างหูและสวมกำไลี่ข้อเท้า เว้นแต่พิธีศพจึงจะแต่งชุดซิ่นสีดำเชิงห่มสไบสีขาว ปัจจุบันการแสดงมอญรำยังนิยมใช้แสดงในงานต้อนรับแขกและงานศพของผู้มีเกียรติ์
ทะแยมอญ
ทะแยมอญ เป็นการละเล่นพื้นเมืองของหนุ่มสาวชาวมอญ มีลักษณะคล้ายหมอลำของภาคอีสานหรือลำตัดของคนไทยภาคกลางมีการร้องเพลงเกี้ยวพาราสีต่อปากต่อคำกันเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการเล่นก็มีไวโอลินและซอ ทะแยมอญใช้เล่นได้ทั่วไปในทุกโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครึกครื้น ไม่จำเป็นต้องเป็นงานพิธี
การรำพาข้าวสาร
การรำพาข้าวสาร เป็นประเพณีของชาวมอญ นิยมทำกันหลังจากการออกพรรษา เป็นช่วงการทอดกฐินและทอดผ้าป่า โดยคณะผู้รำพาข้าวสารจะพายเรือไปขอรับบริจาคข้าวสาร เงินทองและสิ่งของแล้วนำไปร่วมในการทอดกฐิน
การตักบาตรพระร้อย
การตักบาตรพระร้อย เป็นประเพณีของชาวมอญที่ทำในเทศกาลออกพรรษา ด้วยการนำอาหารคาว-หวาน ลงเรือมาจอดเรียงรายริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรอตักบาตร
การจุดลูกหนู
การจุดลูกหนู เป็นประเพณีเผาศพพระภิกษุ-สามเณรใช้ดอกไม้เพลิงเป็นฉนวน ร้อยด้วยเชือกฉนวนเมื่อจุดไฟไฟจะวิ่งตามฉนวนไปยังดอกไม้เพลิงดอกไม้เพลิงจะวิ่งไปจุดไฟที่เมรุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น